ความหมายของการเชื่อมไฟฟ้า

                การเชื่อม (อังกฤษ: Welding)  เป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับต่อวัสดุ ส่วนใหญ่เป็นโลหะและเทอร์โมพลาสติก โดยให้รวมตัวเข้าด้วยกัน ปกติใช้วิธีทำให้ชิ้นงานหลอมละลาย และการเพิ่มเนื้อโลหะเติมลงในบ่อหลอมละลายของวัสดุที่หลอมเหลว เมื่อเย็นตัวรอยต่อจะมีความแข็งแรง บางครั้งใช้แรงดันร่วมกับความร้อน หรืออย่างเดียว เพื่อให้เกิดรอยเชื่อม ซึ่งแตกต่างกับการบัดกรีอ่อน และการบัดกรีแข็ง ซึ่งไม่มีการหลอมละลายของชิ้นงาน มีแหล่งพลังงานหลายอย่างสำหรับนำมาใช้ในการเชื่อม เช่น การใช้เปลวไฟแก๊สอ็อกซิเจนการอาร์กโดยใช้กระแสไฟฟ้าลำแสงเลเซอร์การใช้อิเล็คตรอนบีมการเสียดสีการใช้คลื่นเสียง เป็นต้น ในอุตสาหกรรมมีการเชื่อมในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่นการเชื่อมในพื้นที่โล่งพื้นที่อับอากาศการเชื่อมใต้น้ำการเชื่อมในพื้นที่อันตราย เช่น ถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ภายในโรงงานผลิตสารเคมี และวัตถุไวไฟ การเชื่อมมีอันตรายเกิดขึ้นได้ง่าย จึงควรมีความระมัดระวังเพื่อป้องกันอันตราย เช่น เกิดจากกระแสไฟฟ้าความร้อนสะเก็ดไฟควันเชื่อมแก๊สพิษรังสีอาร์คชิ้นงานร้อนฝุ่นละออง
                ในยุคเริ่มแรกจนถึงศตวรรษที่ 19 มีการใช้งานเฉพาะการเชื่อมทุบ (Forge welding) เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อโลหะ เช่นการทำดาบในสมัยโบราณ วิธีนี้การเชื่อมที่ได้มีความแข็งแรงสูง และโครงสร้างของเหล็กมีคุณภาพอยู่ในระดับสูง แต่มีความล่าช้าในการนำมาใช้งานในเชิงอุตสาหกรรม หลังจากนั้นได้มีการพัฒนามาสู่การเชื่อมอาร์ค และการเชื่อมโดยใช้เปลวไฟแก๊สอ็อกซิเจน และหลังจากนั้นมีการ เชื่อมแบบความต้านทานตามมา
                เทคโนโลยีการเชื่อมได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 20 ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 เทคโนโลยีการเชื่อมแบบใหม่ ได้มีการเร่งพัฒนาเพื่อรองรับต่อการสู้รบในช่วงเวลานั้น เพื่อทดแทนการต่อโลหะแบบเดิม เช่นการใช้หมุดย้ำซึ่งมีความล่าช้าอย่างมาก กระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์ (SMAW) เป็นกระบวนการหนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงนั้นและกระทั่งปัจจุบัน ยังคงเป็นกรรมวิธีที่ใช้งานกันมากที่สุดในประเทศไทย และประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย

รูปที่ 1 การเชื่อมไฟฟ้า


1. หลักการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์
                การเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์ (Shielded Metal Arc Welding: SMAW) คือการเชื่อมด้วยไฟฟ้า ในลักษณะที่ทำให้เกิดการอาร์กและได้รับความร้อนจากการอาร์กระหว่างลวดเชื่อมชนิดมีสารพอกหุ้มกับชิ้นงาน สารพอกหุ้มบนลวดเชื่อมเมื่อละลายจะทำหน้าที่เป็นเกาะป้องกันบรรยากาศลวดเชื่อมทาหน้าที่เป็นโลหะเติมด้วย สารพอกหุ้มเมื่อแข็งตัวแล้วจะกลายเป็น สแลก (Slag) หรือขี้เชื่อม ดังรูปที่ 2


รูปที่ 2 แสดงหลักการเชื่อมอาร์กลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์
(ที่มา : Jefferson’s, 1997, p. 453)

2. เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์
                การเชื่อมอาร์ก ลวดหุ้มฟลักซ์ เป็นการด้วยไฟฟ้าที่ อาศัยเครื่องเชื่อมเป็นต้นกำลังในการผลิตกระแสเชื่อม โดยเครื่องเชื่อมนี้จะทำหน้าที่จ่ายกระแส ไฟจากสายเชื่อมแล้วไหลต่อไปยังลวดเชื่อมและชิ้นงานเพื่อให้เกิด การอาร์กขึ้นขณะเชื่อม เครื่องมือและอุปกรณ์เบื้องต้นในการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์แสดงดังรูปที่ 3



รูปที่ 3 แสดงเครื่องมือและอุปกรณ์ในการเชื่อม อาร์กด้วยลวดหุ้มฟลักซ์
(ที่มา : Jefferson’s, 1997, p. 452)


เครื่องกระแสตรงแบบเรกติไฟเออร์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ


1. เครื่องเชื่อมกระแสตรงต่อขั้วตรง
2. เครื่องเชื่อมกระแสตรงต่อกลับขั้ว
( Direct  Current  Straight  Polarity )
( Direct  Current  Reverse  Polarity )
หรืออิเล็คโทรดเป็นขั้วลบ
หรืออิเล็คโทรดเป็นขั้วบวก
( Direct Electrode  Negative )
( Direct Current Electrode  Positive )


 รูปที่ 4 : แสดงเครื่องเชื่อมกระแสตรงแบบอิเล็คโทรดเป็นลบ ( DCEN , (DC-))
และแบบกลับขั้วอิเล็คโทรดเป็นบวก ( DCEP , (DC+))

     จากรูปที่ 4  . อิเล็คโทรดเป็นลบกระแสไฟจะไหลจากขั้วลบไปยังขั้วบวก นั่นคือ กระแสไฟจะไหลออกจากเครื่องเชื่อม เป็นกระแสตรงผ่านลวดเชื่อมไปยังชิ้นงาน ดังนั้น ปริมาณ 2 ใน 3 ส่วนจะอยู่ที่ ชิ้นงานอีกส่วน จะอยู่ที่ลวดเชื่อม ( Electrode )  จะทาชิ้นงานมีความซึมลึกดี เหมาะสาหรับการเชื่อมชิ้นงานหนา
                ส่วนรูปที่ 4 . อิเล็กโทรดเป็นบวกกระแสไฟจะไหลผ่านชิ้นงานซึ่งเป็นขั้วลบไปยังลวดเชื่อม
( Electrode )  ซึ่งเป็นขั้วบวก ดังนั้น ความร้อน 2 ในส่วน อยู่ที่ ลวดเชื่อม ส่วนความร้อนอีก 1 ส่วน อยู่ที่ ชิ้นงาน การซึมลึกจะน้อย  เหมาะสาหรับการเชื่อมชิ้นงานบาง ๆ
                จากอิทธิ พลของความร้อน ดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีผลต่อการละลายซึมลึก ( Penetration )  ของ ชิ้นงาน ดังนั้นรูปร่างของแนวเชื่อมจึงมีลักษณะแตกต่างกัน นั่น คือการเชื่อมกระแสไฟตรง ถ้าให้อิเ ล็คโทรดเป็นลบ DCEN (DC-) งานจะหลอมละลายลึกมากกว่าให้อิเล็คโทรดเป็นบวก CDEP (DC+) ดังแสดงใน
รูปที่5

รูปที่ 5 : แสดงลักษณะการซึมลึกของแนวเชื่อมแบบ DCEN (DC-)  และ CDEP (DC+)

                เครื่องเชื่อมชนิดกระแสสลับ ( Alternating  Current  Welding )
                เครื่องเชื่อมกระแสสลับจะมีทรานส์ฟอร์เมอร์ ( Transformers )  เป็นส่วนประกอบที่สำคัญหรือ โดยทั่วไปเรียกว่าหม้อแปลงไฟ โดยหม้อแปลงไฟฟ้า จะแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าจากภายนอกให้เป็นแรง
เคลื่อนสาหรับใช้เชื่อม ( Welding  Voltage )  หม้อแปลงนี้จะประกอบด้วย
                ขดลวดปฐมภูมิ ( Primary  Winding ) เป็นขดลวดขนาดเล็กพันรอบแกนเหล็ก จานวนมากปลายทั้ง สองข้างจะต่อเข้า กับกระแสไฟจากภายนอก เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ขดลวดเชื่อมจะทำให้เกิดเส้น แรงแม่เหล็กไหลวนในแกนเหล็กนั้น
                ขดลวดทุติยภูมิ ( Secondary  Winding ) เป็นขดลวดที่มีขนาดใหญ่ และจานวนรอบที่พันอยู่ แกนเหล็กน้อย กว่า ขดลวดปฐมภูมิ ที่ขดลวดทุติยภูมิจะมีเส้นแรงแม่เหล็ก ซึ่งเกิดจากการเหนี่ยวนาของขดลวด
ปฐมภูมิไหลผ่านตัด กับ ขดลวดทุติยภูมิทำให้เกิดความต้านทานต่ำ และมีกระแสสูง ซึ่งเรานากระแสไฟสูงที่ได้
นี้ไปใช้ในการเชื่อม ดังแสดงในรูปที่ 5



รูปที่ 6 : แสดงลักษณะภายในของเครื่องเชื่อมกระแสสลับ

                แรงดนัของขดลวดปฐมภูมิ และทุติยภูมิ เป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนของขดลวดกระแสไฟของขดลวดปฐมภูมิและทุติยภูมิ จะเป็นสัดส่วนผกผัน (กลับกัน ) กับจำนวนรอบขดลวด
                ขดลวดปฐมภูมิ ของหม้อแปลงจะสร้างเส้นแรงแม่เหล็กขึ้นในแกนเหล็ก และกำลังไฟฟ้าจะถูกส่งไป
ยังด้านทุติยภูมิโดยเส้นแรงแม่เหล็ก ดังนั้น แม้ว่า ไม่มีการใช้กำลังไฟฟ้าเลยที่ขดลวดทุติยภูมิ ก็ยังต้องมีกระแส
ที่จ่ายให้ เพื่อการสร้างสนามแม่เหล็กให้ไหลอยู่เสมอ จึงมีกาลังไฟฟ้าเล็กน้อย เสียไปตลอดเวลา ซึ่งเรียก
กระแสสูญเสียเล็กน้อย นี้ว่ากำลังไฟฟ้าที่สูญเสียเมื่อไม่มี โหลด ( No – Load  Loss )

ลวดเชื่อมและมาตรฐานของลวดหุ้มฟลักซ์

นิยามของลวดเชื่อม

                สมาคมการเชื่อม อเมริกา (American Welding Society : AWS) ได้ให้นิยามของลวดเชื่อมไว้ว่า  “ลวดเชื่อมที่ใช้สำหรับเติมลงในแนวเชื่อม และเป็นตัวทำหน้าที่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จากขั้วจ่ายไฟฟ้าผ่านตัวมันเองไปยัง การอาร์ก ซึ่งจะผลิตออกมาเป็นเส้นลวดหรือเป็นแท่ง มีทั้งลวดเปลือยและลวดมีสารพอกหุ้ม”  ลวดหุ้มฟลักซ์เป็นลวดเชื่อมที่ผ่านกระบวนการผลิตโดยใช้สารพอกหุ้มแกนลวดเชื่อมไว้ โดยที่แกนลวดเชื่อมมีหน้าที่สำคัญ คือเป็นขั้วไฟฟ้าและในขณะเดียวกันก็เป็นตัวเติมเนื้อโลหะลงในแนวเชื่อมอีกด้วย




รูปที่ 7 แสดงลักษณะของลวดหุ้มฟลักซ์

(ที่มา : ปราโมทย์  อุทัยวัฒน์, 2558)

ส่วนประกอบของลวดหุ้มฟลักซ์
                ลวดหุ้มฟลักซ์มีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ แกนลวดเชื่อมและฟลักซ์หรือสารพอกหุ้มบนผิวนอกของฟลักซ์ด้านที่ใช้จับเข้ากับหัวจับลวดเชื่อมจะระบุรหัสของลวดเชื่อม เช่น E6013 เป็นต้น



รูปที่ 8 แสดงส่วนประกอของลวดหุ้มฟลักซ์
(ที่มา : ปราโมทย์  อุทัยวัฒน์, 2558)

หน้าที่ของฟลักซ์หรือสารพอกหุ้ม
                ขณะเชื่อม ฟลักซ์หรือสารพอกหุ้มหลอมละลายพร้อมกับแกนลวดเชื่อมและทาหน้า ที่ต่างๆ ดังนี้
                                1. ช่วยให้เกิดการอาร์กที่ดี เช่น การเริ่มต้นอาร์กทำได้ง่ายการอาร์กเรียบสม่ำเสมอ
การจุดประกายของการอาร์กทำได้ง่ายขึ้น และควบคุมการอาร์กให้สม่ำเสมอ เป็นต้น
                                2. เติมธาตุผสมให้กับเนื้อโลหะเชื่อม
                                3. ช่วยในการสร้างแก๊สป้องกันบ่อหลอมเหลวและกลายเป็นสแลกเมื่อ แนวเชื่อม เย็นตัว
                                4. ช่วยดึงสิ่ง สกปรกในบ่อหลอมขึ้นมารวมตัวกันเป็นสแลก
                                5. รักษาสมบัติของธาตุที่ผสมอยู่และช่วยเพิ่มสมบัติของแนวเชื่อมตามที่ต้องการ
                                6. ป้องกันการรวมตัวของออกซิเจน และไนโตรเจนในบรรยากาศทาปฏิกิริยากับโลหะ
งานที่กาลังหลอม
                                7. ช่วยควบคุมให้แนวเชื่อมเย็นตัวอย่างช้าๆ
                                8. เป็น ฉนวนป้องกันไฟฟ้า
                                9. ขจัดออกไซด์และสารมลทินต่างๆ ทำให้โลหะเชื่อมบริสุทธิ์ขึ้น

สมบัติของฟลักซ์หรือสารพอกหุ้ม
                สมบัติของสารพอกหุ้มที่ดีควรมีสมบัติ ดังนี้
                                1. มีความถ่วงจาเพาะต่ำสามารถลอยตัว ขึ้นจากน้าโลหะที่กำลังหลอมเหลวได้
                                2. มีอุณหภูมิหลอมละลายขณะเกิดการอาร์ก
                                3. ขณะหลอมละลายจะเกิดควัน ซึ่งเป็นแก๊สที่ป้องกันและขับไล่แก๊สจากภายนอก ไม่ให้
รวมตัวกับเนื้อโลหะที่กำลังหลอม
                                4. ไม่แตกหรือหลุดออกจากแกนลวดได้ง่าย

มาตรฐานของลวดหุ้มฟลักซ์

                ลวดหุ้มฟลักซ์ที่ผลิตออกมาจาหน่ายในปัจจุบันมีหลายมาตรฐาน ได้แก่ AWS, ISO, DIN, JIS
และมาตรฐาน มอก. (TIS) เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะลวดหุ้มฟลักซ์ตามมาตรฐานของสมาคม
การเชื่อมอเมริกา (AWS A5.1-1991) ซึ่งเป็นลวดเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนหุ้มฟลักซ์ (Carbon Steel Electrode for Shielded Metal Arc Welding) โดยมีการกาหนดรหัสของลวดเชื่อมไว้ดังรูปที่ 9

รูปที่ 9 แสดงการกาหนดรหัสของลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ตามมาตรฐาน AWS (A5.1-1991)
(ที่มา : ปราโมทย์  อุทัยวัฒน์, 2558)

                จากรูปที่ 9 ลวดหุ้มฟลักซ์ตามมาตรฐานของ AWS (A5.1-1991) ได้กาหนดรหัสโดยใช้
ตัวอักษรและตัวเลข 4 หลัก ดังนี้
                1. หลักที่ 1 ใช้อักษรภาษาอังกฤษ คือ E หมายถึง ลวดหุ้มฟลักซ์ (Electrode) 2. หลักที่
                2 ใช้หมายเลข 2-5 หมายถึงค่าความเค้นแรงดึงสูง สุด มีหน่วยเป็นกิโลปอนด์
ต่อตารางนิ้ว (ksi) และถ้าคูณด้วย 1,000 มีหน่วยเป็นปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi) 3. หลักที่ 
                3 ใช้หมายเลขหมายถึง ตาแหน่งการเชื่อม หรือท่า เชื่อม ประกอบด้วย
                                1) หมายเลข 0 หรือ 1 หมายถึงเชื่อม ได้ทุกตาแหน่งหรือ ท่าเชื่อม เช่น ท่าราบ ท่าระดับท่าตั้ง และท่าเหนือศีรษะ
                                2) หมายเลข 2 หมายถึงเชื่อมได้ตาแหน่งท่าราบและท่า ระดับ
                                3) หมายเลข 3 หมายถึงเชื่อมได้ตาแหน่งท่าราบ
                                4) หมายเลข 4 หมายถึงเชื่อมได้ตาแหน่งท่าราบ ท่าระดับ และท่าเหนือศีรษะ
                4. หลักที่ 4 ใช้หมายเลข 0-9 เพื่อระบุรายละเอียดที่เกี่ยวกับกระแ สไฟฟ้าที่เหมาะสม
กับลวดเชื่อมและระบุสมบัติของสารพอกหุ้ม ดังนี้
                                1) หมายเลข 0 หมายถึงเซลลูโลสสูง โซเดียม (High Cellulose Sodium)
                                2) หมายเลข 1 หมายถึงเหล็กออกไซด์สูง (High Iron Oxide)
                                3) หมายเลข 2 หมายถึงไททาเนียมสูง โซเดียม (High Titanium Sodium)
                                4) หมายเลข 3 หมายถึงไททาเนียมสูง โพแตสเซียม (High Titanium Potassium)
                                5) หมายเลข 4 หมายถึงผงเหล็ก ไททาเนีย ม (Iron Powder Titanium)