ส่วนรูปที่ 4 . อิเล็กโทรดเป็นบวกกระแสไฟจะไหลผ่านชิ้นงานซึ่งเป็นขั้วลบไปยังลวดเชื่อม
( Electrode )  ซึ่งเป็นขั้วบวก ดังนั้น ความร้อน 2 ในส่วน อยู่ที่ ลวดเชื่อม ส่วนความร้อนอีก 1 ส่วน อยู่ที่ ชิ้นงาน การซึมลึกจะน้อย  เหมาะสาหรับการเชื่อมชิ้นงานบาง ๆ
                จากอิทธิ พลของความร้อน ดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีผลต่อการละลายซึมลึก ( Penetration )  ของ ชิ้นงาน ดังนั้นรูปร่างของแนวเชื่อมจึงมีลักษณะแตกต่างกัน นั่น คือการเชื่อมกระแสไฟตรง ถ้าให้อิเ ล็คโทรดเป็นลบ DCEN (DC-) งานจะหลอมละลายลึกมากกว่าให้อิเล็คโทรดเป็นบวก CDEP (DC+) ดังแสดงใน
รูปที่5

รูปที่ 5 : แสดงลักษณะการซึมลึกของแนวเชื่อมแบบ DCEN (DC-)  และ CDEP (DC+)

                เครื่องเชื่อมชนิดกระแสสลับ ( Alternating  Current  Welding )
                เครื่องเชื่อมกระแสสลับจะมีทรานส์ฟอร์เมอร์ ( Transformers )  เป็นส่วนประกอบที่สำคัญหรือ โดยทั่วไปเรียกว่าหม้อแปลงไฟ โดยหม้อแปลงไฟฟ้า จะแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าจากภายนอกให้เป็นแรง
เคลื่อนสาหรับใช้เชื่อม ( Welding  Voltage )  หม้อแปลงนี้จะประกอบด้วย
                ขดลวดปฐมภูมิ ( Primary  Winding ) เป็นขดลวดขนาดเล็กพันรอบแกนเหล็ก จานวนมากปลายทั้ง สองข้างจะต่อเข้า กับกระแสไฟจากภายนอก เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ขดลวดเชื่อมจะทำให้เกิดเส้น แรงแม่เหล็กไหลวนในแกนเหล็กนั้น
                ขดลวดทุติยภูมิ ( Secondary  Winding ) เป็นขดลวดที่มีขนาดใหญ่ และจานวนรอบที่พันอยู่ แกนเหล็กน้อย กว่า ขดลวดปฐมภูมิ ที่ขดลวดทุติยภูมิจะมีเส้นแรงแม่เหล็ก ซึ่งเกิดจากการเหนี่ยวนาของขดลวด
ปฐมภูมิไหลผ่านตัด กับ ขดลวดทุติยภูมิทำให้เกิดความต้านทานต่ำ และมีกระแสสูง ซึ่งเรานากระแสไฟสูงที่ได้
นี้ไปใช้ในการเชื่อม ดังแสดงในรูปที่ 5

1 ความคิดเห็น:

  1. ผลของการหลอมลึกจากการต่อขั่วเชื่อมในภาพที่แสดง เป็นของการเชื่อม GTAW

    ตอบลบ