นิยามของลวดเชื่อม
สมาคมการเชื่อม
อเมริกา (American Welding Society : AWS) ได้ให้นิยามของลวดเชื่อมไว้ว่า
“ลวดเชื่อมที่ใช้สำหรับเติมลงในแนวเชื่อม
และเป็นตัวทำหน้าที่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จากขั้วจ่ายไฟฟ้าผ่านตัวมันเองไปยัง การอาร์ก
ซึ่งจะผลิตออกมาเป็นเส้นลวดหรือเป็นแท่ง มีทั้งลวดเปลือยและลวดมีสารพอกหุ้ม”
ลวดหุ้มฟลักซ์เป็นลวดเชื่อมที่ผ่านกระบวนการผลิตโดยใช้สารพอกหุ้มแกนลวดเชื่อมไว้
โดยที่แกนลวดเชื่อมมีหน้าที่สำคัญ คือเป็นขั้วไฟฟ้าและในขณะเดียวกันก็เป็นตัวเติมเนื้อโลหะลงในแนวเชื่อมอีกด้วย
รูปที่ 7 แสดงลักษณะของลวดหุ้มฟลักซ์
(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
ส่วนประกอบของลวดหุ้มฟลักซ์
ลวดหุ้มฟลักซ์มีส่วนประกอบที่สำคัญ
ได้แก่ แกนลวดเชื่อมและฟลักซ์หรือสารพอกหุ้มบนผิวนอกของฟลักซ์ด้านที่ใช้จับเข้ากับหัวจับลวดเชื่อมจะระบุรหัสของลวดเชื่อม
เช่น E6013 เป็นต้น
รูปที่ 8 แสดงส่วนประกอของลวดหุ้มฟลักซ์
(ที่มา : ปราโมทย์ อุทัยวัฒน์, 2558)
หน้าที่ของฟลักซ์หรือสารพอกหุ้ม
ขณะเชื่อม ฟลักซ์หรือสารพอกหุ้มหลอมละลายพร้อมกับแกนลวดเชื่อมและทาหน้า
ที่ต่างๆ ดังนี้
1.
ช่วยให้เกิดการอาร์กที่ดี เช่น การเริ่มต้นอาร์กทำได้ง่ายการอาร์กเรียบสม่ำเสมอ
การจุดประกายของการอาร์กทำได้ง่ายขึ้น และควบคุมการอาร์กให้สม่ำเสมอ เป็นต้น
2.
เติมธาตุผสมให้กับเนื้อโลหะเชื่อม
3.
ช่วยในการสร้างแก๊สป้องกันบ่อหลอมเหลวและกลายเป็นสแลกเมื่อ แนวเชื่อม
เย็นตัว
4.
ช่วยดึงสิ่ง สกปรกในบ่อหลอมขึ้นมารวมตัวกันเป็นสแลก
5.
รักษาสมบัติของธาตุที่ผสมอยู่และช่วยเพิ่มสมบัติของแนวเชื่อมตามที่ต้องการ
6.
ป้องกันการรวมตัวของออกซิเจน และไนโตรเจนในบรรยากาศทาปฏิกิริยากับโลหะ
งานที่กาลังหลอม
7.
ช่วยควบคุมให้แนวเชื่อมเย็นตัวอย่างช้าๆ
8.
เป็น ฉนวนป้องกันไฟฟ้า
9.
ขจัดออกไซด์และสารมลทินต่างๆ ทำให้โลหะเชื่อมบริสุทธิ์ขึ้น
สมบัติของฟลักซ์หรือสารพอกหุ้ม
สมบัติของสารพอกหุ้มที่ดีควรมีสมบัติ
ดังนี้
1.
มีความถ่วงจาเพาะต่ำสามารถลอยตัว ขึ้นจากน้าโลหะที่กำลังหลอมเหลวได้
2.
มีอุณหภูมิหลอมละลายขณะเกิดการอาร์ก
3.
ขณะหลอมละลายจะเกิดควัน ซึ่งเป็นแก๊สที่ป้องกันและขับไล่แก๊สจากภายนอก
ไม่ให้
รวมตัวกับเนื้อโลหะที่กำลังหลอม
4.
ไม่แตกหรือหลุดออกจากแกนลวดได้ง่าย
ในขณะทำการเชื่อมฟลักช์หุ้มลวดมเชื่อมมีหน้าทีอย่างไร
ตอบลบ